ann http://ann8827.siam2web.com/
 มาทามความรู้จักเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต

  

 

ประโยชน์ระบบอินเตอร์เน็ต 

            อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอลที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

            อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้ง เมื่อประมาณ ปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา  ที่ใช้ในงานวิจัยด้านทหาร (ARPA : Advanced Research Project Agency)

            มาถึงปี 2515 หลังจากที่เครือข่ายทดลองอาร์พาประสบความสำเร็จอย่างสูง และได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พามาเป็นดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency: DARPA) และในที่สุดปี 2518 อาร์พาเน็ตก็ขึ้นตรงกับหน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Communication Agency)

           ในปี 2526 อาร์พาเน็ตก็ได้แบ่งเป็น 2 เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่ออาร์พาเน็ตเหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET : Millitary Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้ โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet) เป็นครั้งแรก

           ในปี 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ให้เงินทุนในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และใช้ชื่อว่า NSFNETและพอมาถึงปี 2533 อาร์พารองรับภาระที่เป็นกระดูกสันหลัง (Backbone) ของระบบไม่ได้ จึงได้ยุติอาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และเครือข่ายขนาดมหึมา จนถึงทุกวันนี้ และเรียกเครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เน็ต

 

            อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน

 

        ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


        ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

 

          เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย

 

          เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต"

 

          ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้

 

           ปี พ.ศ.2537 หลายโรงเรียนได้เริ่มทดสอบการใช้งาน internet

 

           ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร

 

          ปี พ.ศ. 2539 หลังจากเกิด ISP ขึ้นมากมายและแต่ละรายก็มี link เชื่อมไปต่างประเทศเป็นของตนเอง เดือนมิถุนายน CAT จึงเริ่มให้บริการ the International Internet Gateway (IIG) เพื่อให้บริการเชื่อมต่อ Internet สำหรับ ISP ที่ไม่สามารถมี link เชื่อมต่อไปต่างประเทศโดยตรง ISP เล็กหลายแห่งได้ใช้บริการของ IIG เพื่อลดต้นทุน แต่ ISP ส่วนใหญ่ยังคงมี link ของตนเองเพื่อความเสถียร (reliability) และใช้ในการแข่งขัน นอกจากนั้น CAT ยังให้บริการ local internet exchange ในชื่อ Thailand National Internet Exchange (TH-NIX) เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง ISP ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ

 

          ปี พ.ศ.2540 ในเดือนพฤศจิกายน NECTEC เปิดให้บริการ local internet exchange ขึ้นในชื่อ The ThaiSarn Public Internet Exchange (PIE) เพื่อเชื่อมต่อระหว่าง ISP ต่างๆเข้ากับ ThaiSarn Public access Network นอกจากนั้นคือเพิ่มทางเลือกให้แก่ ISP เนื่องจาก TH-NIX มีระเบียบข้อบังคับมาก 


          ปี พ.ศ.2541 ในเดือนพฤษภาคม TH-NIX และ PIE ได้เชื่อมต่อกันด้วยความเร็ว 2 Mbps

  

เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลาย

1.  การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต  ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อ      สื่อสารกันได้ เช่น คอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ Windows 95 สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการแบบ      Macintosh ได้

2.  อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกัน หรือห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึง      กันได้

3.  อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิด      มัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้

                         

 ลักษณะการทำงานของ Repreter

 

              สัญญาณไฟฟ้าแบบดิจิตอลจะถูก modulate เข้ากับแหล่งกำเนิดแสงที่นี้อาจเป็นเลเซอร์ไดโอกชนิด ILD(Injection Laser Diode) หรือ LED ( Light Emitting Diode) ก็ได้สัญญาณที่ออกมาจะเป็นสัญญาณแสงซึ่งจะถูกส่งผ่านไปตามเคเบิลใยแก้วระยะหนึ่งจนถึงตัวทวนสัญญาณ สัญญาณก็จะถูกเปลี่ยนกลับเป็นสัญญาณไฟฟ้า (eloctrical signal) โดยใช้โฟโต้ไกโกชนิด PIN หรือ APD (Avalanche photo diode) สัญญาณไฟฟ้านี้ก็จะถูกนำมาขยาย และกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าใหม่ (regeneratc) แก้วจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณแสง (optical signal) โดยถูก modulate กับแหล่งกำเนิดแสงอีกครั้งหนึ่ง และผ่านเคเบิลใยแก้วจนถึงปลายทาง (dislant terminal) กับปลายทางสัญญาณแสงก็จะถูกเปลี่ยนกลับเป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อต่อเข้าชุมสายต่อไป ซึ่งลักษณะการทำงานนี้จะเป็นเช่นเดียวกันทั้งด้านรับและส่งสำหรับการจ่ายไฟเลี้ยงให้กับตัวทวนสัญญาณระบบการจ่ายไฟจะป้อนกระแสไฟตรงที่กระแสตรงที่มีค่ากระแสคงที่ผ่านตัวนำโลหะ (ทองแดง) ในสายเคเบิลและครบวงจรด้วยระบบพื้นทะเล (Ocean Ground) ที่ปลายทางทั้ง 2 ด้าน ซึ่งมีลักษณะของระบบจ่ายไฟเลี้ยงเหมือนกับระบบเคเบิลใต้น้ำแกนร่วม

 E-mail sercurity

          วัตถุประสงค์ ของ Email Security Service   คือ ป้องกันผู้ใช้งานอีเมล์ รวมถึงองค์กร ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากภัยที่ติดมากับอีเมล์ เช่น ไวรัส สแปมหรือจดหมายขยะ และการถูกหลอกลวงจากฟิชชิ่ง (Phishing) เป็นต้น นอกจากนั้นบริการดังกล่าวยังช่วยปกป้องทรัพย์สินอันมีค่าขององค์กร ซึ่งก็คือข้อมูลความลับต่างๆ อาทิ ข้อมูลของลูกค้า ทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ให้ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะชน หรือตกไปสู่ผู้ที่ไม่ประสงค์ดี ซึ่งจะสร้างความเสื่อมเสียให้แก่องค์กรได้

 

 เทคโนโลยีการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ที่มากับอีเมล์ (Email Virus & Worm Protection)

Antivirus Protection สามารถตรวจจับไวรัสทั่วไปได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งมีส่วนของ Zero-Hour Antivirus ที่สามารถตรวจจับพฤติกรรมและสกัดไวรัสชนิดใหม่ซึ่งอาจยังไม่เป็นที่รู้จัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในช่วงเวลาชั่วโมงแรกๆที่เริ่มเกิดการแพร่ระบาด จึงเหมาะกับทุกองค์กรที่มีการใช้งานอีเมล์ โดยช่วยกำจัดปัญหาที่มากับอีเมล์ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายกับข้อมูลสำคัญ รวมทั้งอาจก่อให้เกิดช่องทางให้ความลับรั่วไหล (Backdoor) ได้

              เทคโนโลยีการตรวจจับและกำจัดสแปมหรืออีเมล์ที่เป็น “ขยะ” (Spam Detection)

เทคโนโลยี Machine Learning MLX สามารถตรวจจับคัดกรอง Spam และ Phishing ได้ดีกว่าเทคโนโลยีอื่นๆที่มีใช้กันอยู่ทั่วไป จึงเหมาะกับทุกองค์กรที่มีการใช้งาน Email ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะช่วยกำจัด Spam ที่สร้างความสับสนรำคาญและสิ้นเปลืองพื้นที่ในการเก็บข้อมูล ในขั้นรุนแรง Spam อาจทำให้ระบบเครือข่ายและเซิฟร์เวอร์ล่ม นอกจากนั้น Spam ยังเป็นที่มาของการล่อลวงแบบ Phishing ซึ่งก็คืออีเมล์ที่ลวงให้ผู้รับเข้าไปยังเว็บไซต์ปลอมที่สร้างขึ้นเลียนแบบเว็บไซต์จริงอย่างแนบเนียน ซึ่งหากผู้รับหลงเชื่อ กรอกข้อมูลส่วนตัว เช่นเลขที่บัญชีและรหัสผ่าน ก็อาจถูกผู้ไม่ประสงค์ดีนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้หรือขายต่อให้แก่ผู้อื่นได้

              เทคโนโลยีช่วยการปฎิบัติตามข้อกำหนดด้านการรักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคล (Regulatory Compliance)

Regulatory Compliance Module สามารถกำหนดกลุ่มคำศัพท์และกฎเกณฑ์รูปแบบของข้อมูลที่ไม่ควรถูกเปิดเผยออกทางอีเมล์ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายหรือข้อกำหนด เช่น Health Insurance Portability and Accountability Act (HIPAA) หรือ Gramm-Leach-Bliley Act (GLBA) เป็นต้น ซึ่งจะเหมาะกับองค์กรที่ต้องเกี่ยวข้องกับการปฎิบัติตามข้อกำหนด/ข้อกฎหมายเฉพาะทาง หรือองค์กรที่ต้องการรักษาความลับข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลลูกค้าขององค์กร จากการส่งข้อมูลเหล่านี้ผ่านทางอีเมล์

             เทคโนโลยีการป้องกันการรั่วไหลของสินทรัพย์ดิจิตอล (Digital Asset Security)

Digital Asset Security Module อาศัยเทคโนโลยี Machine Learning MLX ในการเฝ้าระวังตรวจจับป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลสำคัญ ทรัพย์สินทางปัญญา หรือความลับทางการค้า โดยเหมาะกับองค์กรที่ต้องการเฝ้าระวังการรั่วไหลของ ความลับและข้อมูลทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา ข้อมูลที่มีรูปแบบเฉพาะทาง ที่อาจถูกลักลอบส่งออกไปภายนอกบริการรักษาความปลอดภัยแก่จดหมายอิเล็คทรอนิกส์นี้ประกอบด้วย บริการป้องกันภัยจากอีเมล์ที่เข้าสู่องค์กร (Inbound Email Security) และการป้องกันภัยจากอีเมล์ที่ส่งออกไปภายนอกองค์กร (Outbound Email Security)

Inbound Email Security

  เป็นการป้องกันอีเมล์ที่เข้าสู่องค์กร โดยระบบมีความสามารถในการป้องกันดังนี้

1.Email Firewall : ป้องกัน Denial of Service (DoS) Attack และ Directory Harvest Attack

                2.Spam Detection : ป้องกัน Spam, Adult Content และ Phishing Attack

                3.Virus Protection : ป้องกันไวรัสที่ติดมากับ Email หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm) และโทรจัน (Trojan)

                4.Zero-Hour Antivirus : ป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสในระยะแรกสุด ก่อนที่จะมีการอัพเดทของ Antivirus Signature

              Outbound Content Security

1.Content Compliance : กำหนดนโยบายสำหรับข้อความในอีเมล์ รวมทั้งไฟล์ที่แนบไปกับอีเมล์

                2.Digital Asset Security : ช่วยรักษาสินทรัพย์ทางปัญญาที่มีค่าขององค์กร และเอกสารที่เป็นความลับต่างๆ ไม่ให้รั่วไหลออกไปภายนอกผ่านทางอีเมล์

  3.Regulatory Compliance : กำหนดกลุ่มคำศัพท์และกำหนดกฎเกณฑ์รูปแบบของข้อมูลที่ไม่ควรถูกเปิดเผย

บริการรักษาความปลอดภัยแก่จดหมายอิเล็คทรอนิกส์นี้ประกอบด้วย บริการป้องกันภัยจากอีเมล์ที่เข้าสู่องค์กร (Inbound Email Security) และการป้องกันภัยจากอีเมล์ที่ส่งออกไปภายนอกองค์กร (Outbound Email Security)

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 7,452 Today: 3 PageView/Month: 66

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...